love-amulet

ท้าวเวสสุวรรณ​ หลวงตาอ๋อย

฿4000.00
ป้องกันคุณ​ไสย ภูติผีวิญญาณ​ เสริมดวงการเงิน
เหลือ 1 ชิ้น
ซื้อเลย
หยิบลงตะกร้า
  • หมวดหมู่ : เครื่องรางป้องกันภัย กันแก้คุณไสย
  • รหัสสินค้า : 001763

รายละเอียดสินค้า ท้าวเวสสุวรรณ​ หลวงตาอ๋อย

อภิญญาทางจิตที่แรงกล้า หลวงตาย่ามแดง! ลูกศิษย์แค่ตั้งคำถามในใจอยู่ไกลๆ หลวงตายังตอบสวนกลับมา ดั่งได้ยินเสียงในความคิดศิษย์


อุกาสะ อุกาสะ ข้าพเจ้าขอยกคุณพระศรีรัตนตรัยเอาไว้เหนือหัว พร้อมพระโพธิสัตว์ เทพ พรหม จตุโลกบาล ปู่ฤาษี มีพ่อแม่ครูอาจารย์เทพฤทธิ์ย่ามแดงและเจ้าหน้าที่นิริยบาล เป็นที่สุด
กาลเวลาล่วงไป ๘ ปี หลังจากท่านหลวงตาย่ามแดงได้นอนหลับพักผ่อนกายสังขาร แต่นั้นก็เป็นเพียงกายสังขาร ดวงจิตวิญญาณของท่านยังดูแลลูกหลานทุกคนไม่ห่างหาย
ผมยังได้จดจำคำสั่งสอนของท่านตาได้เป็นอย่างดีไม่เสื่อมคลาย ปฐมแห่งคำสอน บทแรกที่สอน คือ  "จริงเหมือนไม่จริง ไม่จริงเหมือนจริง" ปฐมคำสอนได้แสดงถึงอิทธิฤทธิ์ทุกประการที่ท่านแสดงแก่ศิษยานุศิษย์ ท่านหลวงตาได้ใช้ บุญฤทธิ์ และ อิทธิฤทธิ์ ในการดึงเอาผู้ที่ไม่เคยมีความเคารพศรัทธาในพระศาสนา ผู้เห็นผิด ได้เข้ามาเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ยืนยันคำสอนของพระพุทธองค์ว่า พระศาสนายังไม่เสื่อมไปไหน องค์มรรคแปดยังสมบูรณ์ในโลก พร้อมด้วยอิทธิทั้งหลายยังสมบูรณ์ สิ่งที่คนทั่วไป เห็นจริงมันอาจไม่จริง สิ่งที่เห็นว่าจริง สิ่งนั้นอาจไม่เป็นจริงก็ได้ 
แล้วท่านตาก็สั่งสอนว่า 
"ใบไม้ย่อมเป็นใบไม้" นั่นคือ คำสอนที่ชี้ชัดลงที่ กฏไตรลักษณ์ คือ ความอนิจจัง เราอย่าไปหมายมั่น มันจะทุกข์เวียนเกิดเวียนตาย เวียนว่ายตายเกิด เพราะมันดับสูญ ไม่มีอะไร มันไม่มีแก่นสารอะไร นี่คือ กฏแห่งความเป็นจริง ไม่มีใครจะฝ่าฝืนไปได้


 


กลางสมัยแห่งการสั่งสอนที่สำนักส่วนตัวที่แม่กลอง ท่านเน้นย้ำให้ศิษย์ทุกคน ได้ยึดแนวคำสั่งสอนเพียงสั้นๆว่า
"กู ดู กู มึง ดู มึง" ครั้งหนึ่งผมได้กราบเรียนท่านว่า หลวงตา กูดูกู มึงดูมึง คือ อะไร แล้วมันดูอย่างไร????
ผมประดุจดั่งคนโง่เขลาเบาปัญญา เกิดมาไม่เคยได้ยินคำนี้ ประหนึ่งว่า เวียนว่ายตายเกิดยังไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน จะชาติไหนที่ได้เกิดติดตามท่าน ท่านก็ไม่เคยได้เอ่ยคำนี้ ทั้งเมื่อครั้งฤาษี ทั้งออกรบเอาชีวิตไปกอบกู้ร่วมลูกศิษย์ ทั้งขรัว ทั้งเป็นพระ คำนี้ไม่คุ้นหูตัวข้าฯ เอาเสียเลย 
ท่านตาได้สอนว่า "ให้ดูที่จิตตัวเอง อย่าส่งจิตออกนอก ดึงเข้ามาให้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เข้า ออก" ท่านสอนอย่างเมตตา ด้วยสายตาอันอ่อนโยน เหมือพ่อกำลังสอนลูก ให้หัดเดิน ค่อยๆก้าวนะลูก อย่าด่วนวิ่ง อย่าวอกแวก อย่าเอียงซ้าย อย่าเอียงขวา ค่อยๆเดิน ก้าวขวา ก้าวซ้าย ค่อยๆก้าว เดี๋ยวจะถึงจุดหมายเอง พ่อจะรอตรงนั้น รอโอบกอดลูก
กูดูกู มึงดูมึง เป็นคำสั่ง และ คำสอน เป็นวลี เป็นหลักการ ที่เอามาพิจารณาจะเห็นว่า คำสั่งสอนนี้ใช้ได้ตั้งแต่ ผู้ที่ไม่มีจุดหมายอันใด ผู้ที่ไม่รู้อะไร ยันถึงหลุดพ้นพระนิพพาน 
อะไรคือกู กูคืออะไร เนื้อหนังมังสา นี่หรือคือกู กูคืออะไร กูคือจิตใจเหรอ จิตใจคือกูเหรอ ถ้าใช่ กูบังคับจิตใจกูได้เหรอ ว่าอย่าทุกข์ร้อนอันใด กูคืออะไร ดูคืออะไร อะไรคือการดู ดูอย่างไร อย่างไรจึงเรียกการดู การมใช้ปัญญาพิจารณาคือการดูไหม ถ้าใช่ดูอย่างไร
มึงดูมึง เน้นย้ำตรงที่ให้มีความสนใจในตัวเอง ในกิจของตัวเอง อย่าไปดูคนอื่น อย่าไปกล่าวโทษเอาผิดคนอื่น พระท่านไม่สั่งสอน ครูบาอาจารย์ทุกที่ทุกสำนักไม่สั่งสอนให้ไปเพ่งโทษคนอื่น ให้หมั่นดูจิตตัวเอง นักปราชญ์ท่านทั้งหลายไม่นิยมชมชอบสรรเสริญคนที่ไปเพ่งโทษ กล่าวโทษ ตำหนิติเตียนผู้อื่น จ่องจับผิดผู้อื่น เค้าจะผิดจริงหรือไม่ผิดจริง ไม่ใช่เรื่องของกู กูไม่มีหน้าที่ไปตำหนิติเตียนผู้อื่น กูมีหน้าที่ดูกู ดูตัวเอง 
กูดูกู มึงดูมึง จึงเป็นบทบัญญัติแห่งการประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในครรลองคลองธรรม ชี้ชัดลงที่การพิจารณาตนเอง เมื่อได้ดูตนเองจึงได้เห็นตนเอง เมื่อได้เห็นตนเอง จึงได้เห็นโลก ขึ้นชื่อว่าเห็นตนเองจึงได้ชื่อว่าเห็นโลก 


ปัจฉิมแห่งคำสั่งสอน คือ คำสั่งสอนสุดท้าย ท่านได้ให้ไว้ขณะที่ท่านป่วยหนักที่สำนัก กลางวันวันนั้น เหมือนร่างกายสังขารท่านไม่ไหว เพราะแบกรับโรคภัยไข้เจ็บที่รักษาผู้คนมากมายมาไว้ที่กายสังขารท่านเพียงผู้เดียว  ด้วยกฏแห่งกรรมอันผูกพัน เหมือนมีคนมาบอกว่า เวลาเหลือน้อยเต็มที วันต่อมาผมได้ลางาน เพื่อเดินทางไปหาท่านที่สำนัก ผมได้เข้าไปกราบท่านที่หัวบันไดกุฏิภายใน กราบลงที่พื้นผ้าเช็ดเท้าของท่าน และได้กราบเรียนถาม เรื่องฌานสมาบัติ ท่านเอ่ยทันทีด้วยน้ำเสียงอันอ่อนแรงสั่นเครือ แต่มีพลังภายในกังวาลในลำคอดุจดั่งราชสีห์ ว่า..
"อย่าไปสนใจในฌานทั้งหมด ให้สนใจว่า เราจะต้องตาย คนรู้วันเกิด แต่ไม่รู้วันตาย ให้สนใจวันตาย ให้คิดเสมอว่า เราต้องตาย"
 แววตาของท่านที่มองลงมาเต็มไปด้วยความเมตตาอ่อนโยนที่สุดอย่างที่ไม่เคยได้เห็นแววตาอ่อนโยนได้ถึงเพียงนี้มาก่อน เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างถูกประมวลภพชาติลงมาถึงจุดนี้ จบสิ้นภพชาติ!!!! บทคำสั่งสอนถูกประมวลสรุปลงตรง 
"อย่าประมาทในความตาย"
ภพชาติสิ้นแล้วภพหนึ่ง แววตาอันเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา ประหนึ่ง พ่อกำลังนั่งมองลูกน้อยด้วยความห่วงใยเป็นที่สุด คำสั่งสอนได้สั่งสอนไปหมดสิ้นแล้ว ให้ลูกก้าวเดินตามคำสอนที่พ่อได้สอน ให้จำคำที่พ่อสอน อย่าหลงทาง อย่าเอนเอียง อย่าลังเล ให้เชื่อมั่นในพ่อ มั่น มั่น มั่น พ่อเป็นชายชาติชาตรี พูดน้อย พูดสั้น ให้ลูกได้คิด พิจารณา ใช้ปัญญา หากทำไม่ได้ดั่งคำสอน พ่อจะไม่สอนบทต่อไป หากลูกก้าวซ้ายไม่ได้ ลูกจะก้าวขวาได้อย่างไร หากลูกก้าวขวาไม่ได้ ลูกจะก้าวซ้ายได้อย่างไร พ่อจะมองดูลูก จะคอยดูอยู่ทุกลมหายใจในดวงจิต เอ็งอยู่ที่ไหน ข้าอยู่ที่นั้น ลูกอยู่ที่ไหน พ่ออยู่ที่นั่น ให้ยึดมั่น ในตัวพ่อ "ใครมั่นกับข้า ข้าก็มั่นกับมัน" ลูกอย่าได้กลัว โลกนี้เป็นเพียงกายสังขาร ภาระพ่อมีมากมายยังไม่สิ้น ลูกหมั่นก้าวเดินด้วยตนเอง อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ จงเป็นที่พึ่งของตนเอง พ่อจะมองดูลูกไม่ห่างไปไหนด้วยญานวิถี ยังอยู่ในจิตลูก แม้จะผ่านไปกี่ภพกี่ชาติก็ยังติดตามดูแล ให้ลูกถึงฝั่งหลุดพ้น
กราบขอขมาพ่อแม่ครูอาจารย์เทพฤทธิ์ย่ามแดง และ เจ้าหน้าที่เบื้องล่างทุกผู้ทุกตน
บันทึกคนรับใช้ก้นกุฏิ
หลวงตาย่ามแดง หรือ หลวงตาอ๋อย คือ เป็นชื่อที่ลูกหลานศิษยานุศิษย์เรียกถึงท่าน ส่วนชื่อาที่ปรากฎตามทะเบียนราษฎร์คือ สวาสดิ์ ศีลอุดมทรัพย์  ที่ชื่อว่าหลวงตาย่ามแดงนั้นเป็นเพราะเมื่อก่อนเคยบวชเป็นพระ แต่ตอนนี้ไม่ได้บวชแล้วก็ยังมีคนเรียกว่าหลวงตาด้วยความเคยชิน สิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ของหลวงตา น่าจะเป็น ยามแดง หลวงตาท่านใช้ย่ามสีแดงอยู่เป็นประจำยามแดงนี้มีหมู่ลูกหลานใกล้ชิดเรียกขานกันว่า “กระเป๋าโดราเอมอน” คือลูกศิษย์ลูกหามักจะคอยลุ้นว่าท่านจะหยิบอะไร แปลกๆ สนุกๆ ออกมาให้ดู แล้วช่วงหลังๆก็จะมีใส่ชุดแดงทั้งชุดพร้อมผ้าคลุมไหล่สีแดงเป็นภาพที่ชินตา ท่านว่าสีแดงนั้นเป็นเครื่องหมายของพวกเล่นฤทธิ์ รวมไปถึงเหล่าเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาอันเป็นเทวดาที่มีฤทธิ์ทั้งหลาย ทั้งสอดคล้องกับสีของธาตุไฟ ซึ่งกสินไฟเป็นกองกสินที่หลวงตามีความโปรดปรานในการทำฌานพิเศษ  ที่สำคัญที่สุด สีแดงนั้นเป็นสีประจำตัวทั้งของ “พญายมราช” พระผู้เป็นอธิบดีในนิรยภูมิ คือ ภูมินรก กับ “ท้าวเวสสุวัน” เจ้าแห่งยักษ์ เจ้าแห่งภูติผีจิตวิญญาณและโชคลาภความมั่งคั่ง ทั้งยังเป็นอธิบดีในหมู่จตุโลกบาลทั้ง 4 ท่านเป็นผู้สถาปนา “วัดทุ่งเศรษฐี”